Pages

วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

กนก 3 ตัว พื้นฐานแม่บทของลายไทย

ลายไทย กนก 3 ตัว

กนก 3 ตัว พื้นฐานแม่บทของลายไทย พื้นฐานการเขียนลายไทยที่ผู้เขียนต้องหัดเขียนให้ได้ก่อน นอกจากลายประจำยาม นั่นก็คือ การเขียน "กนก 3 ตัว" หรือที่เราเรียกกันว่า "กนกนาง"  นั้นถือว่าเป็น แม่บทของลายไทย ที่เรียกว่า 3 ตัว เนื่องจากการแบ่งลักษณะของลายที่เขียน โดยอยู่ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากด้านไม่เท่า ให้มีส่วนสูงยาวกว่าส่วนที่กว้าง ให้อยู่ในรูปทรงดอกบัวครึ่งซีก การเขียนรูปลายกระหนก 3 สามตัว นั้นจะต้องเขียนตัวลายรวมกันสามส่วน และตัวลายแต่ละส่วนก็จะมีชื่อกำหนดไว้ คือดังนี้

1.ตัวเหงา เป็นส่วนลายที่อยู่ตอนล่าง และอยู่ข้างหน้าสุด มีโครงสร้างขมวดก้นหอย คว่ำหน้าลงปลายโดยที่ยอดตั้งขึ้น เป็นตัวรองรับกาบและตัวยอด จึงนับเป็นลายตัวต้นและเป็นส่วนที่ 1
2.กาบ หรือ ตัวประกบหลังลาย เขียนประกบอยู่ข้างหลังตัวเหงาอีกทีหนึ่ง ตัวลายจะส่งให้เกิดลายส่วนที่สาม หรือที่เราเรียกว่าตัวยอดนับเป็นลายส่วนที่ 2
3.ตัวยอด ลักษณะเป็นเปลวอยู่ยอดสุดของลาย มีลักษณะพิเศษ กว่าสองส่วนที่กล่าวมาคือ ต้องเขียนให้ปลายยอดสะบัดอ่อนไหวคล้ายกับเปลวไฟ โดยที่โคนเถาลายมีกาบหุ้ม

        เมื่อเอาตัวลายทั้งสามส่วนมาประกอบเข้ารวมกัน ก็จะเป็นลายกระหนกสามตัวที่บรรจุด้วย ก้าน กาบใหญ่ กาบเล็ก เถา กลีบเลี้ยง ตัวกนกและยอดกนกรวมไว้อย่างครบถ้วน และยังรวมตัวกนกทุกชนิดทุกแบบเอาไว้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น